รองคณบดีฝ่ายวิจัยฯ เข้าร่วมกิจกรรม “การอนุรักษ์พันธุกรรมดอกดาหลา ส้มจุก และมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ เพื่อยกระดับเป็นพืช เศรษฐกิจ และศูนย์เรียนรู้การผลิตมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ ภายใต้ระบบ BCG จังหวัดพัทลุง”

   22 มี.ค. 66  /   65

รองคณบดีฝ่ายวิจัยฯ เข้าร่วมกิจกรรม “การอนุรักษ์พันธุกรรมดอกดาหลา ส้มจุก และมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ เพื่อยกระดับเป็นพืช เศรษฐกิจ และศูนย์เรียนรู้การผลิตมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ ภายใต้ระบบ BCG จังหวัดพัทลุง”


เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 อาจารย์ ดร.พรวิชัย เต็มบุตร รองคณบดีฝ่ายวิจัย บริการวิชาการ และกิจการนิสิต เข้าร่วมกิจกรรม “การอนุรักษ์พันธุกรรมดอกดาหลา ส้มจุก และมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ เพื่อยกระดับเป็นพืช เศรษฐกิจ และศูนย์เรียนรู้การผลิตมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ ภายใต้ระบบ BCG จังหวัดพัทลุง” ซึ่งจัดโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาร่วมกับคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน

เพื่อสนองพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานรักษาและต่อยอดการพัฒนามะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ด้วยเทคโนโลยี DNA และการพัฒนาสายพันธุ์ไม้ดอกดาหลา และส้มจุกให้เป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดพัทลุง รวมทั้งการสร้างองค์ความรู้สำหรับอนุรักษ์พันธุ์พืชของจังหวัดพัทลุง ผ่านศูนย์การเรียนรู้ต่อไป

โดยกิจกรรมในช่วงเช้าได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ | อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ, รองศาสตราจารย์ ดร.สมัคร แก้วสุกแสง | รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ คชภักดี | คณบดีคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน โดยร่วมพูดคุยและกล่าวถึงที่มาที่ไปในการจัดโครงการนี้ขึ้นมา ให้แก่ผู้เข้าโครงการจากหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น เกษตรกรชาวสวนมะพร้าว อาจารย์ นักวิจัย นิสิต ผู้แทนองค์กรภาครัฐและเอกชน วิทยากร และทีมผู้จัดกิจกรรม

และในกิจกรรมต่อมาที่เรียกได้ว่า เรียกความสนใจแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เป็นอย่างดี ก็คือ การบรรยายทางวิชการ “การปลูกมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี DNA” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศิวเรศ อารีกิจ | ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ซึ่งได้บรรยายตั้งแต่ ความเป็นมา, ลักษณะสายพันธุ์มะพร้าว, ความต้องการมะพร้าวของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกัน และรวมไปถึงยกตัวอย่าง Case study ก่อนจะให้ผู้เข้าร่วมได้ซักถามข้อสงสัย

ในส่วนกิจกรรมส่งท้าย เป็นกิจกรรมลงแปลงปลูกดอกดาหลา ส้มจุก และมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ ที่ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ณ แปลงสาธิตการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อาคารคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง